Article New

Aluminium Profile and Parts

Industrial Tool Parts

Materials

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ทำไมอลูมิเนียมโปรไฟล์ถึงได้มี สีดำ ???




ทำไม อลูมิเนียมโปรไฟล์ ถึงได้มี สีดำ

 สาเหตุที่อลูมิเนียมโปรไฟล์มีสีดำก็คือการย้อมสีด้วยวิธีการอโนไดซ์

การอโนไดซ์ เป็นวิธีการเพิ่มความทนทางการผุกร่อนของอลูมิเนียม โดยทำให้เกิดออกไซด์ของอลูมิเนียมคือ Al2O3 (อลูมิเนียมออกไซด์) ที่เสถียรเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า โดยใช้การอิเล็กโทรลิซิส ออกไซด์ของอลูมิเนียมที่เกิดขึ้นจากการทำอโนไดซ์จะมีลักษณะผิวด้านและมีรูพรุนเล็กมากๆ โดยรูพรุนนี้จะเป็นกักเก็บสีที่เราจะย้อมไว้ การทำอโนไดซ์ จะทำให้ผิวอลูมิเนียมทนการกัดกร่อนได้มากขึ้น และเป็นฉนวนไฟฟ้า


โครงสร้างพื้นฐานของผิวอลูมิเนียมอโนไดซ์

อาจทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ให้คิดภาพว่าเอาดินสอหกเหลี่ยมมามัดรวมกันหลายๆแท่ง ซึ่งเปรียบเสมือนฟีล์มออกไซด์ที่เกิดขึ้นบนผิวอลูมิเนียม แกนกลางของดินสอเป็นที่เก็บสีหากเป็นสีแดง ชิ้นอลูมิเนียมก็จะเป็นสีแดง หากเป็นสีดำชิ้นอลูมิเนียมก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น
ประโยชน์ของการย้อมสีอลูมิเนียมโปรไฟล์เป็นสีดำ
- สีที่ได้มาความบางมาก เมื่อเทียบกับการทำสีแบบ Painting หรือ Powder Coating
- สีที่ได้มีความทนทานต่อการเสียดสีและติดทนนาน สีไม่ลอก ผิวสีแข็งแรงกว่าการทำสีแบบ Painting หรือ Powder Coating
- มีอายุการใช้งานไม่จำกัดในที่ร่ม (จะซีดจางเมื่อเจอแดดหรือรังสียูวี)
- ต้นทุนต่ำกว่าการทำสีแบบ Painting หรือ Powder Coating

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สแตนเลสคืออะไร ?




 สเตนเลส หรือตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้

ประเภทของสแตนเลส

แบ่งได้ 5 ชนิดหลัก


 เกรด ออสเตนิติก (Austenitic) แม่เหล็ดดูดไม่สามารถดูดติด เพราะสแตนเลสชนิดนี้มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และ ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)



เกรดเฟอร์ริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%



เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน



เกรดดูเพล็กซ์ (Duplex) แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance)



เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel) มีโครเมียมผสมอยู่ Revolutionary Organization 17 November และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน สเตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

แต่ถ้าแบ่งย่อยก็จะได้มากกว่า 50 ชนิด

สแตนเลสสตีลไม่ใช่อัลลอยล์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกจัดอยู่ในชนิดของเหล็ก อัลลอยล์จะมีส่วนประกอบเป็นโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5% ส่วนประกอบอื่นๆได้ถูกผสมเพิ่มขึ้นมาเพื่อเพิ่มการป้องกันการเกิดสนิมและการเกิดความร้อนได้ดีขึ้น เพิ่มคุณสมบัติทางกลไกและส่วนผสมใหม่ๆเข้าไป ดังนั้นสแตนเลสจึงมีมากกว่า 50 ชนิด โดยถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร the American Iron and Steel Institute(AISI) การแยกชนิดของสแตนเลสโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 3 ข้อคือ
1. ส่วนประกอบทางเทคนิคของโลหะ
2. ระบบเรียงลำดับของ AISI
3. การจัดกลุ่มเดียวกันของระบบเรียงลำดับ ได้ถูกพัฒนาโดยองค์กรของอเมริกาที่ทำหน้าที่ทดสอบแร่ธาตุ(ASTM)และองค์กรยานยนต์วิศวกรรม โดยจะกำหนดตัวเลขให้กับโลหะและอัลลอยล์ทุกชนิด

ประเภทของอัลลอยล์



เบอร์ 304 เป็นสแตนเลสสตีลพื้นฐานที่ใช้ในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ชนิดนี้ง่ายต่อการขึ้นรูปและป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
เบอร์ 304L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 304 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา ใช้ในงานการเชื่อมอย่างกว้างขวาง
เบอร์ 316 ถูกออกแบบให้มาป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและสถานที่ใกล้ทะเล
เบอร์ 316L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 316 ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนน้อยลงมา
เบอร์ 430 เป็นสแตนเลสสตีลที่ใช้โครเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ 100% และมีโอกาสเกิดสนิมน้อยกว่าเบอร์300 พวกนี้นิยมใช้ตกแต่งภายใน
ดูลักษณะภายนอกของสแตนเลสแล้วเกือบทุกเกรดล้วนคล้ายคลึงทั้งนี้แล้วยังมีสแตนเลสเกรดต่ำที่มีโอกาสของการขึ้นสนิมได้สูงอีกเช่นสแตนเลสเบอร์201เป็นต้น ดังนั้นควรที่จะเลือกซื้กับร้านค้าที่ไว้วางใจได้นะครับ
คุณสมบัติทั่วไป และ คุณสมบัติทางกายภาพ
คุณสมบัติทางกายภาพของสเตนเลส เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ค่าที่แสดงในตารางที่1 เป็นเพียงค่าประมาณ เนื่องจากการเปรียบเทียบทำได้ยาก ค่าความหนาแน่นสูงของสเตนเลสแตกต่างจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนความสามารถ ทนความร้อนของสเตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ
1. การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1000 องศา C
2. การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สเตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
3. การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)


คุณสมบัติ เชิงกล

สเตนเลสโดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง ในตารางที่ 2นี้ เป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลกับวัสดุชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถรับแรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำ สเตนเลสให้ค่า ที่เป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เรนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก และตารางที่ 3 จะแสดงให้เห็นค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ของสเตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Preciptation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง


คุณสมบัติของ สแตนเลส

สเตนเลสต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างต่างกัน จะมีลักษณะค่าความแข็งแรงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันดังในรูปจะแสดงให้เห็น แนวโค้งของค่าความแข็งแรง โดยทั่วไปของเกรดสเตนเลส 4ชนิด
1. เกรดมาร์เทนซิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield Strength : YS) และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strenght : UTS) สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ แต่จะมีค่าการยืดตัว (Elongation : EL %) ต่ำ
2. เกรดเฟอร์ริติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความแข็งแรงสูงสุดปานกลาง เมื่อรวมกับค่าความยืดตัวสูง จึงทำให้สามารถขึ้นรูปได้ดี
3. เกรดออสเตนิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรงใกล้เคียงกับชนิดเฟอร์ริติก แต่มีค่าความแข็งแรงสูงสุดและความยืดตัวสูง จึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก
4. เกรดดูเพล็กซ์ (ออสเตไนท์ - เฟอร์ไรต์) มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความยืดตัวสูงจึงเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรง และความเหนียว (Ductility) ที่สูงเป็นเลิศ

ความต้านทานการกัดกร่อน


เหตุใด? สเตนเลสจึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบนผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกัน การกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า พาสซิวิตี้ (Passivity) ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา (ดังรูป)
ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อนอันได้แก่ ความรุนแรง ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มปริมาณ โครเมียมจะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้ ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่ม ความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion)
ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและในสภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้แต่เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี และกระบวนการผลิตต่าง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ประเภทของประแจ การใช้งาน และ คุณสมบัติ

ประเภทของประแจ การใช้งาน และ คุณสมบัติ - Types of Wrenches, Uses and Features

ประแจมีให้เลือกหลายรูปแบบสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป บางอันได้รับออกแบบมาเพื่อใช้งานกับตัวยึด(Fastening)ตามมาตรฐานสากล และบางตัวใช้สำหรับการใช้งานแบบเมตริก มองหารหัสสีบนประแจบางตัวเพื่อช่วยให้คุณระบุว่าเป็นแบบ มาตรฐาน(Standard) หรือ เมตริก(Metric) ได้อย่างรวดเร็ว  ต่อไปนี้เป็น ประเภทประแจ ที่พบบ่อยและวิธีการใช้งาน

ประแจเลื่อน (Adjustable Wrench)



ประแจเลื่อน (Adjustable Wrench)
- ประแจสแตนเลสแบบปรับได้
- ขัน / คลายน็อตและสลักเกลียว
- ขากรรไกรล่างเคลื่อนย้ายได้เพื่อปรับขนาดประแจ
- ใช้ได้กับโบลท์ (Bolt) ตัวยึดเมตริก (Metric Fasteners)




ประแจแหวนข้างปากตาย (Combination Wrench)


ประแจแหวนข้างปากตาย (Combination Wrench)
- ขัน / คลายน็อตและสลักเกลียว
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- ปลายเปิดด้านหนึ่งและปลายแหวน (โดยปกติจะมีขนาดเท่ากัน)



ประแจปลายเปิด (Open-End Wrench)

 
ประแจปลายเปิด (Open-End Wrench)

- ขัน / คลายน็อตและสลักเกลียว
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- ปลายเปิดสองด้าน (โดยปกติจะมีขนาดต่างกัน)
- รุ่นหัวต่อหรือแบบยืดหยุ่นช่วยให้คุณทำงานในมุมต่างๆ

ประแจวงล้อ, ประแจเกียร์แหวน (Ratchet Wrench)

 

ประแจวงล้อ, ประแจเกียร์แหวน (Ratchet Wrench)
- ขัน / คลายน็อตและสลักเกลียว
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- การใช้งานวงล้อที่ปลายด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในทิศทางเดียวและจับตัวยึดในทิศทางอื่นเพื่อขันหรือคลายออกโดยไม่ต้องถอดเครื่องมือออก
- บางรุ่นมีปลายหมุนฟันเฟือนสำหรับใช้ในพื้นที่จำกัด

ประแจปากแข็งตัวสั้น (Short-Body or Stubby Wrench)

 

ประแจปากแข็งตัวสั้น (Short-Body or Stubby Wrench)
- ขัน / คลายน็อตและสลักเกลียวในพื้นที่ จำกัด
- เมตริกและขนาดมาตรฐาน

หัวประแจปากตาย (Crowfoot Wrench)

 
หัวประแจปากตาย (Crowfoot Wrench)
- ขัน / คลายสลักเกลียว
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- ไม่มีที่จับ
- ใช้งานร่วมกับด้ามจับวงล้อ / ผสมรวมเข้ากับส่วนขยายซ็อกเก็ต
- ออกแบบมาเพื่อทำงานในพื้นที่ จำกัด

ประแจขันน๊อตใต้อ่าง (Basin Wrench)

 
ประแจขันน๊อตใต้อ่าง (Basin Wrench)
- ขัน / คลายน็อตและข้อต่อท่อใต้อ่างล้างหน้าและอ่างล้างหน้า

ประแจ ขันท่อ  (Pipe Wrench)
 
ประแจขันท่อ
- เปลี่ยนท่อโลหะและอุปกรณ์
- ขากรรไกรบนเคลื่อนได้เพื่อปรับขนาดประแจ

ประแจ L หกเหลี่ยม  (Hex Key / Allen Wrench)

 
ประแจ L หกเหลี่ยม  (Hex Key / Allen Wrench)

- ขัน / คลายสกรูและสลักเกลียวหัวหกเหลี่ยม
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- ใช้งานแบบประแจแยกหรือเป็นชุดที่ประแจพับขึ้นเป็นด้ามจับ
- ใช้งานกับ ด้ามขันตัว T เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

ไขควงหกเหลี่ยมรอบทิศทางแบบหัวดาว (Star-Head Key/Torx Key) 

 
ไขควงหกเหลี่ยมรอบทิศทางแบบหัวดาว (Star-Head Key/Torx Key)
- ขัน / คลายสกรูและสลักเกลียวหัวดาว
- ขนาดมาตรฐานและเมตริก
- ใช้งานแบบประแจแยกหรือเป็นชุดที่ประแจพับขึ้นเป็นด้ามจับ


ประแจสายรัด (Strap Wrench)

 
ประแจสายรัด (Strap Wrench)


- ขัน คลายและเปลี่ยนสิ่งของที่มีขนาดแตกต่างกันเช่นอุปกรณ์ท่อประปาฝาภาชนะ ฯลฯ ที่ไม่มีหน้าแบนสำหรับประแจมาตรฐานในการจับ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.lowes.com/n/buying-guide/wrench-buying-guide

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอัดขึ้นรูป อลูมิเนียม และ โปรไฟล์


การอัดขึ้นรูป อลูมิเนียม และ โปรไฟล์

กระบวนการขึ้นรูปอลูมิเนียม (หรือที่เรียกว่า "อลูมิเนียมเฟรม")  เบื้องต้นแท่งอลูมิเนียมจะถูกทำให้ร้อนก่อนถึงอุณหภูมิที่กำหนดซึ่งยังคงต่ำกว่าจุดหลอมเหลวของวัสดุ นี้จะทำให้แท่งเหล็กอยู่ในสถานะพลาสติกซึ่งสามารถอ่อนตัวได้ง่ายสามารถขึ้นรูปได้ง่าย แต่ไม่ถึงขนาดละลาย จากนั้นแท่งเหล็กที่ผ่านความร้อนมาแล้ว จะถูกบังคับผ่านแม่พิมพ์เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างรูปร่างและสร้างเหล็กแท่งให้ออกมาเป็นโปรไฟล์ตามที่ต้องการ กระบวนการอัดขึ้นรูปทางอุตสาหกรรมนี้คล้ายคลึงกับเทคนิคการทำอาหารที่ใช้ทำพาสต้าประเภทต่างๆ และเทคนิคที่เห็นในการสร้างรูปร่างของเล่นเด็ก

ข้อดีของการอัดขึ้นรูปอลูมิเนียม

อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่เฉพาะโดยทั่วไปสำหรับใช้ในการอัดขึ้นรูป รูปร่างโปรไฟล์ เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกลที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขึ้นรูปโลหะจากส่วนเหล็กแท่ง อะลูมิเนียมมีความสามารถในการอ่อนตัวสูงหมายความว่าโลหะสามารถขึ้นรูปเป็นส่วนต่างๆได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากในกระบวนการขึ้นรูป โดยทั่วไปจุดหลอมเหลวของอลูมิเนียมจะอยู่ในระดับครึ่งหนึ่งของเหล็กธรรมดา ข้อเท็จจริงทั้งสองประการนี้หมายความว่า กระบวนการอัดขึ้นรูปอลูมิเนียมมีการใช้พลังงานค่อนข้างต่ำซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและเครื่องมือต่ำไปด้วย สุดท้ายอลูมิเนียมยังมีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูงทำให้เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับงานอุตสาหกรรม

ประเภทของโปรไฟล์


อลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูปเป็นโปรไฟล์ที่มีความซับซ้อนหลายหลายประเภทสามารถสร้างความหนาที่แตกต่างกันออกไปได้ โปรไฟล์เหล่านี้สามารถแสดงช่องว่างที่ซับซ้อนได้หลากหลาย ตามการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานออโตเมชั่นที่หลากหลาย และยังตอบสนองความต้องการด้านน้ำหนักและประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ประเภทอลูมิเนียมโปรไฟล์โดยทั่วไปส่วนใหญ่


การใช้งานโปรไฟล์



อลูมิเนียมโปรไฟล์มักใช้การมากที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิต ที่เครื่องจักรกลอัตโนมัติในการทำงานในสายการผลิต มันมีความแข็งแรงและยังเบาพอที่จะจัดการได้ง่ายและสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆตามความจำเป็นของโครงสร้างการใช้งาน

สรุป

อลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูปมีความหลากหลายมากมายและเหมาะอย่างยิ่งในการสร้างงาน ออโตเมชั่น และ อลูมิเนียม อลูมิเนียมเป็นวัสดุโครงสร้างที่ยอดเยี่ยมซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการอัดขึ้นรูปโปรไฟล์

อ้างอิงมาจาก : https://blog.misumiusa.com/types-of-aluminum-extrusion-profiles/

8 คุณสมบัติของวิศวกร ที่ควรมี!!!



คุณสมบัติของวิศวกรต้องมีอะไรบ้างหรอ? ถ้าคุณอยากเป็น ก็ทำตัวให้เหมือนดังนี้
 


1.โฟกัส: โฟกัสและใส่ใจในรายละเอียดให้เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทำงานเสร็จอย่างถูกต้องปลอดภัยและทันเวลา




2.เป็นผู้แก้ปัญหา : วิศวกรเป็นนักแก้ปัญหาชั้นยอด สามารถหาทางออกของปัญหา ที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ จากนั้นทำงานอย่างหนักเพื่อให้แก้ปัญหานั้นได้


 3.ทักษะ STEM: STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) ทักษะทั้งหมดนี้จะเป็นเชื้อเพลิงให้ความคิดที่ซับซ้อนของวิศวกร




4.อยากรู้อยากเห็น ขี้สงสัย :  ความอยากรู้อยากเห็นเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และโครงสร้างที่ไม่ธรรมดา วิศวกรต้องรู้อยู่ตลอดว่างานเป็นอย่างไง จะทำยังไงให้มันดีขึ้นกว่านี้



5.ทักษะการสื่อสาร: วิศวกรจำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดีในการทำงานกับ ลูกค้า, สมาชิกในทีม และ หัวหน้างานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 


6.เป็นผู้เล่นในทีม : ความร่วมมือคือกุญแจที่จะทำให้งานออกมาดี วิศวกรมักทำงานในทีมที่หลากหลายเพื่อช่วยกัน, แบ่งปันความคิด และทำงานร่วมกันเพื่อทำให้โปรเจ็คออกมาดีที่สุด




7. มีไหวพริบ : เมื่อเกิดปัญหาวิศวกรจะต้องสามารถคิดได้อย่างรวดเร็วและใช้สิ่งที่พวกเขามีเพื่อแก้ปัญหา วิศวกรสามารถคิดนอกกรอบ และประยุกต์ความรู้และไหวพริบนำออกมาใช้ได้จริง




8. จริยธรรม : วิศวกรบ่อยครั้งทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คน ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติตามกฎและทำงานให้เสร็จสมบูรณ์อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมเสมอ ทำให้ทุกคนปลอดภัยและมีความสุข

ถ้าคุณอยากเป็นวิศวกรก็เริ่มทำตัวแบบทั้ง 8 ที่กล่าวไป!  การทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้ในชีวิตของคุณจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณมีความพร้อมและพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายในอาชีพวิศวกรรมในอนาคตของคุณ!

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://careerinstem.com/qualities-of-engineers/
 
Copyright © 2014 AluminiumKnowledge. Designed by OddThemes | Distributed By Gooyaabi Templates